เมนู

และล้อรถ (ต่อมาได้ก่อตัวใหญ่ขึ้น) จนมีขนาดเท่ายอดภูเขาตามลำดับ
ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้น เบื้องแรกมีขนาดเท่ากลละ (ต่อมาได้ก่อตัวใหญ่ขึ้น)
ตามลำดับ จนมีขนาดวาหนึ่งบ้าง มีขนาดเท่ายอดเขาเป็นต้นด้วยอำนาจ
แห่งกระบือ และช้างเป็นต้นบ้าง มีขนาด 100 โยชน์ ด้วยอำนาจแห่ง
ปลาและเต่าเป็นต้นบ้าง. รูปเป็นเหมือนฟองน้ำด้วยอาการอย่างนี้บ้าง.
อนึ่ง เปรียบเหมือนว่าฟองน้ำพอก่อตัวขึ้นแล้วก็สลายตัวบ้าง
ลอยไปได้หน่อยหนึ่งก็สลายตัวบ้าง ลอยไปได้ไกลสลายตัวบ้าง แต่พอ
ถึงทะเลแล้วก็สลายตัวแน่แท้ทีเดียว ฉันใด แม้รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน
สลายตัวเมื่อคราวเป็นกลละบ้าง เมื่อคราวเป็นอัมพุทะเป็นต้นบ้าง
แต่แม้จะไม่สลายตัวลงกลางคันมีอายุอยู่ต่อไปได้ถึง 100 ปี ครั้นถึง
100 ปี ก็สลายตัวแน่แท้ทีเดียว รูปอยู่ในวิถีทางของมรณะร่ำไป
รูปเป็นเหมือนฟองน้ำด้วยอาการอย่างนี้บ้าง.

เวทนา


แม้ในบทว่า กิญฺหิ สิยา ภิกฺขเว เวทนาย สาโร เป็นต้น พึงทราบ
วินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พึงทราบว่าเวทนาเป็นต้นเหมือนกับต่อมน้ำเป็นต้น อย่างนี้คือ
เหมือนอย่างว่า ต่อมน้ำไม่มีสาระฉันใด ถึงเวทนาก็ไม่มีสาระแม้ฉันนั้น.
เหมือนอย่างว่า ต่อมน้ำนั้นไม่มีกำลังจับคว้าไม่ได้ ใคร ๆ
ไม่สามารถจะจับคว้าต่อมน้ำนั้นมาทำแผ่นกระดานหรือที่นั่งได้
ต่อมน้ำที่จับคว้าแล้ว ก็สลายตัวทันทีฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้นไม่มีกำลัง
จับคว้าไม่ได้ ใคร ๆ ไม่สามารถจะจับคว้าไว้ด้วยสำคัญว่า เที่ยงหรือ
ยั่งยืน แม้จับคว้าได้แล้วก็คงอยู่อย่างนั้นไม่ได้ เวทนาชื่อว่าเป็นเหมือน

ฟองน้ำเพราะจับคว้าไว้ไม่ได้อย่างนี้บ้าง.
อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ต่อมน้ำย่อมเกิดและสลายตัวในเพราะ
หยดน้ำนั้น ๆ อยู่ได้ไม่นาน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้น ย่อมเกิดและ
สลายตัวไป อยู่ได้ไม่นาน ในขณะชั่วลัดนิ้วมือเดียว เกิดแล้วตับไป
นับได้แสนโกฏิครั้ง.
อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า ฟองน้ำเกิดขึ้นได้เพราะอาศัยเหตุ 4
อย่าง คือ พื้นน้ำ หยดน้ำ ระลอกน้ำ และลมที่พัดมาให้รวมตัวกันเป็น
กลุ่มก้อน ฉันใด แม้เวทนาก็ฉันนั้นเกิดขึ้นได้ เพราะอาศัยเหตุ 4 อย่าง
คือ วัตถุ อารมณ์ ระลอกกิเลส และการกระทบกันด้วยอำนาจผัสสะ
เวทนาเป็นเหมือนต่อมน้ำด้วยอาการอย่างนี้บ้าง.

สัญญา


แม้สัญญาก็ชื่อว่าเป็นเหมือนพยับแดดเพราะอรรถว่าไม่มีสาระ1
อนึ่ง ชื่อว่าเป็นเหมือนพยับแดดเพราะอรรถว่าอันใคร ๆ จับคว้าไม่ได้
เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะจับคว้าเอาพยับแดดนั้นมาดื่ม อาบ หรือ
บรรจุให้เต็มภาชนะได้.
อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนว่า พยับแดดย่อมเต้นยิบยับ
ปรากฏเหมือนมีลูกคลื่นเกิดฉันใด แม้สัญญาแยกประเภทเป็นนีลสัญญา
เป็นต้นก็ฉันนั้น ย่อมไหวตัว คือเต้นยิบยับ เพื่อประโยชน์แก่การ
เสวยอารมณ์ มีรูปสีเขียวเป็นต้น.
1. ปาฐะว่า อสานาฏฺเฐน ฉบับพม่าเป็น อสารกฏฺเฐน แปลตามฉบับพม่า